Kru Somsri's English School

ห้องสนทนาของโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษคุณครูสมศรี => คุยกับคุณครูสมศรี => : Ginhwan December 17, 2010, 01:24:48 PM



: "ด่าออนไลน์" วงจรอุบาทว์เด็กไทย
: Ginhwan December 17, 2010, 01:24:48 PM
(http://pics.manager.co.th/Images/553000017710803.JPEG)

ถือเป็นเรื่องที่ต้องจำใจยอมรับว่า วันนี้วัยรุ่นไทยได้วิวัฒนาการเขียน "คำด่า" จากที่เคยอยู่ในห้องน้ำ โต๊ะเรียน หรือกำแพง มาเป็นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแล้ว ที่น่าวิตกคือ นาทีนี้การด่าทอออนไลน์กำลังมีแนวโน้มก่อตัวขึ้นเป็นวงจรอุบาทว์ซึ่งอาจจะกัดกินสังคมไทยต่อไปในอนาคต เพราะงานสำรวจล่าสุดพบว่า 40% ของวัยรุ่นไทยทั่วประเทศพร้อมจะด่าทอกลับเมื่อโดนกระทำ
       
       ดร.วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์ หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง "ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมความรุนแรงทั้งทางกายภาพและการข่มเหงรังแกผ่านโลกไซเบอร์ของเยาวชนไทย" และอาจารย์สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ให้ข้อมูลว่า มากกว่า 26% ของกลุ่มตัวอย่างเยาวชนไทยอายุ 12-24 ปีจำนวน 2,500 คนทั่วประเทศ ไม่เห็นว่าการโพสต์ข้อความด่าทอบนอินเทอร์เน็ตเป็นการทำร้ายใคร และอีก 25% คิดว่าผู้ที่ด่าทอคนบนอินเทอร์เน็ตได้นั้น "เท่"
       
       ถามว่าทำไมเรื่องนี้จึงน่าวิตก ดร.วิมลทิพย์ชี้ว่า เหตุที่คนไทยต้องสนใจเรื่องนี้เพราะการด่าทอคือหนึ่งในความรุนแรงที่ไม่ควรให้บ่มเพาะในเด็กด้วยประการทั้งปวง โดยความรุนแรงคือ 1 ใน 10 ที่นำไปสู่สาเหตุการตายยอดนิยมในประเทศไทย
       
       การด่าทอนั้นเป็นรูปแบบการข่มเหงรังแกออนไลน์หรือที่ต่างประเทศเรียกกันว่าไซเบอร์บูลลีอิง (Cyber-bullying) ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของเด็กไทย โดยดร.วิมลทิพย์เผยว่า 25% ของกลุ่มตัวอย่างเคยเป็นเหยื่อถูกนินทา ด่าทอ รองลงมาคือ 21% เคยถูกส่งข้อความก่อกวน 10% เคยถูกนำข้อมูลส่วนตัวมาเผยแพร่ 10% เคยถูกแอบอ้างชื่อให้ร้าย 13% เคยถูกล้อเลียน ข่มขู่ คุกคาม และ 13% เคยถูกลบออกจากกลุ่ม
       
       "การสำรวจพบว่า บทบาทการเป็นเหยื่อและผู้กระทำหมุนเป็นวงจร กลุ่มตัวอย่าง 40% บอกว่าถ้าโดนมาจะทำกลับ ทั้งหมดนี้เป็นเพราะเด็กไม่รู้วิธีแก้ปัญหา และตัดสินใจแก้แค้นทำกลับ หมุนเป็นวงจรไม่จบสิ้น มีเพียง 5% เท่านั้นที่ไม่เคยบอกครู ปกปิด รอจนการข่มขู่จะเลิกไปเองโดยไม่ตอบโต้"
       
       กลุ่มตัวอย่างมากกว่า 43.1% ระบุว่าเคยถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์ แม้ตัวเลขนี้จะน่ากลัว แต่สิ่งที่น่ากลัวกว่าคือการที่วัยรุ่นไทยเป็นทั้งผู้ถูกรังแกและเป็นผู้รังแกเสียเอง ทั้งที่ส่วนใหญ่รู้ว่าการข่มเหงนี้ไม่ควรกระทำ เพราะทำลายสุขภาพจิตเหยื่อ เป็นความรุนแรงและเป็นเรื่องที่ผิด สร้างปัญหา จุดนี้การศึกษาของดร.วิมลทิพย์พบว่าเกิดจากปัญหาครอบครัว โดยเฉพาะในเด็กอาชีวะที่มากกว่า 24% รู้สึกว่าแม่ไม่เข้าใจ เมื่อกระทำผิดแล้วจะโดนพ่อแม่ดุด่า ครอบครัวทะเลาะเป็นประจำ ไม่มีใครสนใจ
       
       "วัยรุ่นไทยมากกว่า 30% ไม่กล้ากล่าวปฏิเสธ 36.5% ต้องการเป็นที่ยอมรับจึงต้องเห็นด้วย อัตราการข่มเหงรังแกออนไลน์ในเด็กไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในระดับมัธยมศึกษา เพราะเด็กรู้สึกว่าใครๆก็ทำ ถ้าทำต่อก็ไม่เห็นเป็นเรื่องอะไร"
       
       ดร.วิมลทิพย์ชี้ว่า ประเทศไทยสามารถใช้แนวทางแก้ปัญหาจากประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งญี่ปุ่น สหรัฐฯ และอื่นๆที่ล้วนผ่านช่วงเวลาที่น่าเป็นห่วงมาแล้ว โดยเฉพาะญี่ปุ่นที่สามารถดึงเด็กที่มีแนวโน้มเป็นผู้ข่มเหง มาบ่มนิสัยให้เด็กรู้สึกว่าการข่มเหงรังแกออนไลน์ไม่ใช่ความเท่ได้สำเร็จ
       
       "ญี่ปุ่นรู้ว่าวิธีไหนเวิร์กไม่เวิร์ก ก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นตั้งหน่วยงาน ตรวจจับคำด่าทดข่มขู่ มีการสั่งห้ามพกโทรศัพท์-ห้ามแชตในโรงเรียน นอกเวลาเรียนให้พ่อแม่ดูแล แม้จะร่วมมือกันทั้งโรงเรียน-รัฐ-ครอบครัวก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้เพราะเด็กเรียนรู้ว่าคำไหนจะถูกตรวจจับจึงเปลี่ยนเป็นสื่อสารด้วยศัพท์แสลงที่ผู้ใหญ่ตามไม่ทัน ผลที่ได้ไม่คุ้มเงินที่ลงทุนระบบไป จากนั้นญี่ปุ่นจึงเปลี่ยนมาเล่นงานที่บุคลากรแทน กลับกลายเป็นว่าบุคลากรโรงเรียนกลับไม่รายงานว่ามีการข่มขู่ที่แท้จริงเท่าใด เมื่อไม่ได้ผล ญี่ปุ่นจึงกลับมาสร้างความเข้มแข็งกับครอบครัวและเด็ก ให้เด็กรู้สึกว่าไม่เดือดร้อนเมื่อถูกด่าทอ ทำให้ไม่เกิดวงจร"
       
       ดร.วิมลทิพย์ชี้แนวทางว่าจะต่อยอดงานวิจัยชิ้นนี้ไปยังโรงเรียนทั่วประเทศ โดยเชื่อว่างานวิจัยนี้จะทำให้วิธีการคัดกรองเด็กในโรงเรียนไทยเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะแบบวัดระดับความสมบูรณ์ทางอารมณ์หรือ EQ ที่วัยรุ่นซึ่งเป็นผู้ข่มเหงออนไลน์ยังสอบผ่าน
       
       "เด็กเรียนดีหน้าตาใสซื่อจำนวนไม่น้อยเป็นผู้ข่มเหงในไซเบอร์บูลลีอิง ทั้งหมดนี้กฏหมายไม่ใช่คำตอบ กฏหมายไทยไม่ได้ไม่ดี แต่การนำไปใช้เท่านั้นที่มีปัญหา สิ่งที่จำเป็นในตอนนี้คือพ่อแม่ต้องรู้ IT ไม่ใช่เป็นทุกข์เรื่องผลการเรียนของลูกอย่างเดียว"
       
       วิมลทิพย์ย้ำหนักแน่นว่าแม้จะมีการข่มเหงออนไลน์ในวัยรุ่น แต่ไม่ได้แปลว่าอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่ไม่ดี แต่เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ทุกคนในสังคมที่ต้องลดความไม่ดีของอินเทอร์เน็๋ต ทำให้ดาบ 2 คมด้านที่ไม่ดีนั้นคมน้อยลง
       
       ** รู้หรือไม่? **
       
       - คำว่า Cyber-bullying ใช้เรียกการรักแกกันอย่างต่อเนื่องผ่านโทรศัพท์มือถือหรืออินเทอร์เน็ตเท่านั้น ใช้เฉพาะในกลุ่มเด็ก ส่วนการข่มเหงในกลุ่มผู้ใหญ่จะนับเป็นอาชญากร ซึ่งจะรวมถึงผู้ที่รังแกผู้อื่นโดยไม่รู้ตัวด้วยการฟอร์เวิร์ดเมล จะได้รับโทษ 5 ปีปรับแสนบาทต่อการฟอร์เวิร์ด 1 ครั้ง
       
       - หากเป็นเหยื่อรังแกออนไลน์ สามารถแจ้งความได้ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ เพื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมอย่างถูกต้อง ซึ่งจะดีกว่าการกระทำตอบเป็นวงจรไม่รู้จบ


credit    :    http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9530000170644


Sorry, the copyright must be in the template.
Please notify this forum's administrator that this site is missing the copyright message for SMF so they can rectify the situation. Display of copyright is a legal requirement. For more information on this please visit the Simple Machines website.