อุทาหรณ์เรื่องนี้ คือ ผิดหรือไม่ผิดเราอย่างเพิ่งไปดูตรงนั้นครับ
สิ่งที่ต้องดูอันดับแรก คือ การที่จะขอให้คนอื่นทำอะไรให้
ควรเข้าไปขอดี ๆ ถ้าเขาไม่ให้ ก็ให้พิจารณาที่เหตุผลว่าเราทำผิดหรือไม่
ไม่ต้องพิจารณาว่าคนอื่นผิดหรือเปล่า ดูตัวเองก็พอ
ถ้าเราผิดก็ต้องยอมรับ ถ้าเขาผิดค่อยดำเนินการต่อไป
ไม่ใช่อยู่ ๆ ก็ไปกดดันผ่านสื่อ เพราะถึงจะอ้างว่าไปติดต่อเขาแล้วก็ควรดูที่ตัวเองว่าผิดจริงหรือเปล่าอยู่ดี
เดี๋ยวนี้คนไทยละเลยคำว่า "รับผิดชอบ" ไป เอาแต่ "รับชอบ โยนผิด"
บางคนก็น่าสงสาร พ่อแม่ไม่ทำตัวอย่างให้ลูกเห็น โยนว่าเป็นความผิดคนอื่นอย่างเดียว ลูกไม่ผิดเลย
ก็เป็นตัวอย่างให้เด็กเห็นว่า "กูต้องไม่ผิด"
ซึ่งถ้าุคุณดำเนินการตั้งแต่วันแรกที่เปิด ถึงผิดยังไงก็แก้ไขทัน ไม่เห็นต้องรอแบบ ผีถึงป่าช้าเลย
ที่มาเขียนอย่างนี้ไม่ใช่เป็นการเพ่งโทษคนที่มาร้องเรียนนะครับ แต่จะมาเตือนให้มีสติ พิจารณาถูกผิด
จะมาบอกว่าแค่รับเงินแล้วให้สอบ มันก็ง่ายไป ทุกอย่างมีขั้นตอน
แล้วการที่มีผู้ใหญ่ใจดีตั้งคณะกรรมการช่วยเหลือ จะไปคุยกับท่านรัฐมนตรีบ้าง จะฟ้องศาลปกครองบ้าง
ขอชื่นชมในความเมตตาของท่านที่มีต่อเด็ก ขอชื่นชมที่ท่านเห็นความสำคัญของการศึกษาของเยาวชน
แต่การช่วยก็ต้องเป็นธรรม ถ้าเด็กผิดจริงก็ให้ช่วยพอเหมาะ ไม่ใช่จะฟ้องร้อง ไม่งั้นเรียนไปเด็กก็ได้แต่ความรู้
แต่ด้วนคุณธรรม ความรับผิดชอบ ความรู้หน้าที่ การเคารพกฎระเบียบ เอาแต่บอกว่ามีสิทธิ
แต่คุณลืมไปหรือไม่ว่าสิทธิต้องมาพร้อมกับหน้าที่เสมอ ไม่งั้นความวุ่นวายก็จะเกิด
ซึ่งตรงนี้ก็เป็นการพิสูจน์ผู้ที่จะช่วยเหลือเหมือนกัน
ผมก็เป็นคนที่อยู่ในแวดวงของการศึกษา และก็ศรัทธาในการศึกษาเช่นเดียวกัน ย่อมเห็นความสำคัญเช่นเดียวกับพวกคุณ
1 ปีที่เสียไปอาจยาวนาน อาจดูเหมือนเสียเวลา แต่จริง ๆ แล้วมันจะซื้อประสบการณ์ให้กับตัวเองครั้งใหญ่
จะสอนให้ตนรับผิดชอบในเรื่องที่สำคัญ สอนให้รู้จักวางแผนเตรียมการ
การเข้ามหาวิทยาลัย จะกล่าวว่าเข้าได้เพราะความเก่งก็ถูกเป็นส่วนน้อย แต่ต้องเป็นคนที่พร้อมทั้งความรู้ และคุณธรรม
ถ้าเพียงเท่านี้ คุณรับผิดชอบไม่ได้ เรียนมหาวิทยาลัยไปคุณก็ถูกรีไทน์อยู่ดี เสียงบประมาณชาติอีก
เพราะฉะนั้นทำอะไรขอให้คิดมาก ๆ นะครับ แล้วถ้าโชคดีก็คงได้สอบ A-NET