น้องกะทิฯครับ
การจำมี 2 ประเภทครับ คือ
การจำช่วงสั้น และการจำช่วงยาว
ต่อแต่นี้การอธิบายจะใช้ประสบการณ์ของตัวครูเองนะครับ ไม่เกี่ยวกับทฤษฎี
การจำช่วงสั้นคือการจำฉาบฉวย จำครั้งละมากมาย จำเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะกิจ เช่นจำก่อนเข้าห้องสอบสิบนาที
จำครั้งเดียวแล้วไม่ได้ทบทวน
จำตอนเบื่อ จำโดยมีทัศนคติต่อเรื่องที่จำไปในทางลบเช่น ไม่อยากจำแต่ก็ต้องจำ
จำขณะที่มีสิ่งรบกวน จำไปทำกิจกรรมอื่นที่ชอบไป เช่นฟังเพลงจนมัวแต่ร้องเนื้อจนข่มเรื่องที่อ่าน ฯลฯ
ถ้าหนูจำในลักษณะนี้
ก่อน ระหว่างและหลังการจำ หนูก็จะไม่มีความสุข หรือที่เด็กชอบพูดว่า"จำไปทำไมหว่า"
นั่นละครับเราจะไม่ค่อยจำ
คุณครูมักบอกเด็กๆว่าที่เราป้อนข้อมูลเข้าไปในสมอง ความจริงไม่น่าเรียกว่า"จำ"
มันน่าจะเรียกว่า"จึ้ก"หรืออะไรสักอย่าง
เวลาคุณครูท่องเสร็จหรือ"จึ้ก" วิธีจำก็คือ พยายามดึงออกมาใช้
ครูก็จะปิดสมุดหนังสือแล้วก็ทำตัวเหมือนกำลังสอนหรือถ่ายทอดให้ใครสักคนฟัง
ถ้าหนูจำได้ ครูจะชอบพูดว่าให้เอาความรู้ที่ครูสอนไปไปสอนเพื่อนที่ห้อง
ไม่ต้องกลัวว่าเขาจะรูเท่าเรา ดีเสียอีกยิ่งทำให้เราต้องรู้มากขึ้น
เราก็จะมีสังคมที่ทุกคนมีความรู้ มีเพื่อนฉลาดด้วยกัน
นั่นแหล่ะคุณครูกำลังจะสอนให้หนูพัฒนาความจำช่างสั้นมาเป็นความจำช่วงยาวไงครับ
การท่องซ้ำๆ ท่องบ่อยๆ เห็นซ้ำๆ เห็นบ่อยๆ ก็เท่ากับเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมในการจำ
น้องกะทิฯครับ ถ้าหนูเห็นประโยชน์และมีเจตคติที่ดีต่อสิ่งที่หนูอ่าน
หนูจะรู้สึกว่าทุกครั้งที่ลูกตาสัมผัสความรู้ที่หนูอ่าน
มันดื่มด่ำ มีค่ายิ่ง เพราะสิ่งที่หนูอ่านจะกลับมาเลี้ยงดูเราวันข้างหน้าได้นะครับ
ไม่ใช่เลี้ยงเราคนเดียวนะครับ เลี้ยงคนที่เรารักก็ได้ครับ
เพราะฉะนั้นคุณครูขอแนะนำการอ่านแล้วให้ลืมน้อยหน่อย
1. ก่อนอ่านต้องมีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งที่กำลังจะอ่าน
education ตามรากศัพท์แปลว่า "นำความไม่รู้ออกไป"
คุณครูไม่เคยขยะแขยงอะไรเท่ากับการกลัวความโง่ โง่ในที่นี้ไม่ใช่โง่เพราะ stupid นะ
คือ"โง่" แบบ ignorant น่ะคือเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่ใจนะครับ
2.ทวนของเดิมก่อนอ่านเรื่องใหม่ก่อนเล็กน้อย เพื่อให้มีสมาธิควรขีดเขียนไปด้วย
สมัยเรียนที่เตรียมฯคุณครูจะ top ฝรั่งเศสนะแม้จะโง่อังกฤษ เพราะเวลาอ่านไปก็จะเขียนไป
ทำไงได้ เรามันสมองไม่ดี ก็ต้องทำแบบนี้แหล่ะจะได้ไม่ลืม
ทุกครั้งที่อ่านคำศัพท์ก็จะทวนศัพท์เก่า
เด็กที่เรียนต่างประเทศจะจดจำได้เร็วเพราะสิ่งรอบตัว คิด พูด ทำ เป็นภาษาอังกฤษหมด
เราก็ไม่ต้องกลัว เราก็หยิบบ่อยๆ เห็นบ่อยๆ ออกเสียงบ่อยๆ ก็เก่งได้เองแหล่ะ คุณครูรับรอง
3. พัฒนาการจำศัพท์เป็นกลุ่มมาสู่การอ่านpassage เหมือนคุณครูเจะเจอเด็กๆหลายๆคนจนนึกว่าจำได้แล้ว
แต่พอเด็กทำผมแปลกออกไปจากที่เคยเห็นคุณครูก็เริ่มงง เพราะชีวิตเจอนักเรียนเยอะจนจำแทบไม่ได้
ก็ทำนองเดียวกัน เราอ่านศัพท์แล้ว เรานึกว่าเราแม่น แต่พอไปเจอในเรื่องเรากลับจำไม่ได้
เทคนิคก็คือเมื่อหนูจดจำคำศัพท์ได้แล้ว หนูควรพบเขาในที่แปลกๆ ลักษณะแปลกๆ เมื่อเราพบเขาหลายครั้ง แม้จะไม่อยู่ในโครวสร้างเดิม
หนูก็เริ่มจำได้แล้ว
และนี่คือความจำช่วงยาวล่ะคือพบซ้ำๆ พบบ่อยๆ พบในขณะที่อยากรู้จัก พบเมื่อเห็นว่าเขามีประโยชน์ ฯลฯ
และแล้วหนูก็จะเก่งขึ้นเองครับ
ลองไปทำตามดูนะครับ
โชคดีครับ
ขอให้สนุกกับการอ่านนะครับ........
|