: April 30, 2009, 05:06:58 PM
: Bloody Jewel
|
โอ๊ะโอวว สาธุ ให้ธรรมะเป็นทาน ได้บุญมหาศาล ขอบคุณมากค่ะ อนุโมนทาด้วยย 
|
: April 30, 2009, 03:21:26 PM
: Pu_Pu
|
วันนี้มีเคล็ดลับเศรษฐีมาบอก
ในช่วงเศรษบกิจเเบบนี้ปมีหัวใจเศรษบีมาบอกกัน
1.อุฏฐานสัมปทา ขยันหา (ทรัพย์) ตามเเนวทางที่สุจริต ประกอบอาชีพที่ไม่ผิดกฎหมาย ไม่เกียจคร้าน ไม่เกี่ยงงาน
2.อารักขสัมปทา รักษาดี คือรักาทรัพย์ที่หามาได้ ไม่ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย
3. กัลยาญมิตตา มีกัลยาณมิตร หรือมีเพื่อนดี ที่ไม่ชักจูงไปในทางเสียหาย
4.สมชีวิตา ดำเนินชีวิตเหมาะสม คือ ใช่จ่ายตามสมควร ตามฐานะ คล้ายกับอารักขสัมปทา เเต่ไม่ใชกาออม เป็นการรู้จักเลือกซื้อของ ให้เหมาะกับฐานะจ้า
|
: April 27, 2009, 04:28:41 PM
: Pu_Pu
|
วันนี้มาถึงงงงง
ติกะคือหมวด 3 เย้ หมวด 2 จบเเล้วว
อย่าเพิ่งเบื่อนะ เพราะจะมาลงอีกนาน 55 ของเเบบนี้เจอบ่อยก็ชินอาจจะไม่เห็นประโยชน์
เเต่วันนึงพอเจอปัญหา ธรรมไม่กี่ข้อเเค่นี้เเหละที่จะช่วยได้ เริ่มเลยนะจ๊ะ
พระรัตนตรัยคือ เเก้ว 3 ประการ
จะเเปลว่า แก้วอันประเสริฐ 3 ประการก็ไม่ผิดจ่ะ เเต่ว่าตามรูปศัพท์มันไม่มีคำไหนเเปลว่าประเสริฐนะ ที่ใส่เพราะว่าเราให้เกียรติ ถือเป็นของสูงสุดจ่ะ
1.ท่านผู้สอนให้ประชุมชนประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ ตามพระธรรมวินัย ที่ท่านเรียกว่าพระพุทธศาสนา ชื่อ พระพุทธเจ้า
(ศัพท์อาจจะเเปลกๆ เค้าเรียนกันงี้อะนะ ) ก็ตรงตัวเลยจ่ะ ข้อ ที่ 1 นี้ก็หมายถึงพระพุทธเจ้า
2. พระธรรมวินัยที่เป็นคำสอนของท่าน ชื่อ พระธรรม
3. หมู่ชนที่ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าเเล้วประพฤติชอบตามพระธรรมวินัย เเละสอนให้ผู้อื่นกระทำตามชื่อ พระสงฆ์
เมื่อเรียงลำดับจริงๆเเล้ว คุณครูบางท่านอาจสอนว่า พระพุทธเจ้าเกิดก่อน ตามด้วยพระธรรมเเละพระสงฆ์ ขอเสริมอย่างงี้เเล้วกัน
ว่า คำว่า พระธรรม เรามักได้ยินบ่อยๆว่า พระธรรมวินัย ซึ่งเเยกได้ 2 คำ คือ พระธรรม คือคำสอนของพระพุทธเจ้า เเต่ไม่ใช่สิ่งที่พระองค์บัญญัติขึ้น
พระธรรม มาจากธรรมชาติ คือมีอยู่เเล้วตามธรรมชาติ พระพุทธองค์เป็นผู้ค้นพบเท่านั้น มิได้บัญญ้ติ เเต่สิ่งที่พระองค์บัญญติ คือพระวินัย ที่เป็นที่เป็นคำสั่งต่างหากค่ะ
พระวินัย เช่น ศีลต่างๆ อะนะ เพราะฉะนั้น การเรียงลำดับการถือกำเนิดที่ถูกต้องจริงๆ ก็คือ
พระธรรมเกิดก่อน พระพุทธ เเละพระสงฆ์ค่ะ อันนี้อ้างอิงจาก หนังสือธรรมะกับเยาวชนนะคะ
เเต่ก็อาจมีหลายตำราที่เเตกต่างกันไปลองอ่านเยอะๆก็เเล้วกันค่า
|
: April 26, 2009, 05:35:08 PM
: Baimemo
|
กามเมมอระนังทุกขังโลเก
กามตายด้านเป็นทุกข์ในโลก อิอิ
^---^
|
: April 26, 2009, 01:31:47 PM
: Pu_Pu
|
อันนั้นก็เกินไปจ้าพี่น้องไก่
|
: April 26, 2009, 01:31:10 PM
: Pu_Pu
|
เอาใหม่มันขัดข้อนิดนึง
1. บุพพการี ได้เเก่ผู้ที่ทำอุปการคุณมาก่อน หมายถึง พ่อเเม่ หรือผู้มีพระคุณของเรานี่หละค่ะ
ท่านเหล่านั้นเเม้ว่าจะเป็นผู้ที่ทำอุปการคุณมาก่อนเเต่ก็ไม่เคยคิดจะทวงบุญคุณหรือต้องการลาภสักการะตอบเเทน
2. กตัญญูกตเวที กตัญญูเเปลว่าผู้รู้คุณ คือคนที่รู้จักบุญคุณคน รู้ว่าใครคือผู้มีพระคุณเเละมีต่อเราอย่างไร
เเต่กตเวที คือ คนที่กระทำสิ่งตอบเเทนบุญคุณนั้นด้วยกาย วาจา ใจตามทำนองคลองทำ การตอบเเทนบุญคุณโดยการทำผิดศีลธรรม ก็ไม่เรียกว่ากตเวทีค่ะ
ในทางพระพุทธศาสนาเเสดงคู่เเห่งบุคคลหาได้ยากไว้ 4 คู่ คือ
1. พระพุทธเจ้า กับ พุทธศาสนิกชน
2. บิดามารกา กับ บุตรธิดา
3. ครูอาจารย์ กับ ศิษย์
4. พระมหากษัตริย์ กับ ทวยราษฎร์
ทั้ง4 คู่นี้คือบุคคลที่หาได้ยากค่ะ พระพุทธเจ้า พ่อเเม่ ครูอาจารย์ เเละพระมหากษัตริย์ จัดเป็น บุพพการีบุคคล
พุทธศาสนิกชน บุตรธิดา ศิษย์ เเละทวยราษฎร์ ก็จัดเป็นกตัญญูกตเวทีบุคคลค่ะ
ที่ได้ชื่อว่าหาได้ยากเพราะ บุคคลเหล่านี่ จะต้องมีความบริสุทธิ์ใจ ต้องเป็นผู้มีศีลมีธรรม กษัตริย์ก็ต้องทรงธรรม เป็นผุ้ที่รักราษฎร์อย่างเเท้งจริง
เพราะฉะนั้น หน้าที่ของเราคือการเป็น กตัญญูกตเวทีบุคคลที่ดี ในทั้ง 4 สถานะ
อย่างที่คุณครูสอนเสมอว่า ใช้ความขยันความอดทน ซับหยาดเหงื่อของพ่อเเม่อันเป็นการตอบเเทนบุญคุณที่ดีที่สุดนะคะ
|
: April 26, 2009, 01:20:39 PM
: Pu_Pu
|
วันนี้นำเสนอ
ทุลลภบุคคล หรือ บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภทค่ะ
1. บุพพการี
|
: April 25, 2009, 09:24:07 PM
: Dereana
|
โห แม่ชีปู อิอิ
|
: April 25, 2009, 08:58:10 PM
: Pu_Pu
|
จ๊ะเอ๋ วันนี้ใครอยากสวยอยากงามต้องรีบอ่าน เพราะธรรมะวันละนิดจิตเเจ่มใสวันนี้เสนอ ธรรมอันทำให้งามจ้า
โสภรณธรรม หรือ ธรรมอันทำให้งาม มี 2 อย่างคือ
1. ข้นติ ความอดทน ได้เเก่ ความอดทนต้อสิ่งที่มายั่วยุ จิตใจเรา เป็นธรรมะอีกข้อหนึ่งที่คุณครูมักจะบอกว่า "อดทนนะลูก"
นี่ละค่ะ ขันติ อดทนต่อทุกสิ่งทุกอย่าง ใครจะด่าเรา เราก็อดทนไม่ตอบโต้ รักษาอาการได้ เลยทำให้งามไงค่ะ หรือเรียกอีกอย่างว่า งามภายใน
2.โสรัจจะ คือความสงบเสงี่ยม หมายถึงการรักษากิริยาท่าทางให้เป็นปกติได้ เมื่อเกิดการกระทบกระทั่งของจิตใจ
อันนี้จะมากกว่าขันติตรงที่ ขันติเเค่อดทนที่จะไม่ตอบโต้ เเต่โสรัจจะ คือการที่สามารรถดำรงภาวะปกติของทั้งร่างกายเเละจิตใจได้ เมื่อมีอารมณ์มากระทบ
ถ้ามีทั้ง 2 อย่างนี้ เรากจะงามทั้งภายใน ได้เเก่จิตใจอันงดงาม และภายนอกคือกิริยาท่าทางด้วยค่ะ เเละที่สำคัญความอดทนเป็นคุณสมบัติของนักสู้อดทนกันมากๆนะคะ
|
: April 24, 2009, 08:33:12 PM
: Pu_Pu
|
วันนี้เรามารู้จัก โลกบาลธรรม กันค่ะ บางตำราจะเรียกว่า โลกปาลธรรม ก็ไม่ต้องตกใจนะคะเหมือนกันค่ะ
เเปลว่าธรรมคุ้มครองโลก หมายถึง ธรรมะที่จะช่วยคุ้มครองโลกของเราให้สงบสุข รวมไปถึงตัวเราด้วยนะคะ
มี 2 ข้อเช่นเดิม เพราะว่าเรายังอยู่ใน ทุกะ คือหมวด 2 ค่ะ
1. หิริ คือความละอายต่อบาป ละอายเเก่ใจ ที่จะกระทำชั่ว ไม่ว่าในที่ลับหรือที่เเจ้ง เพราะเเม้ว่าจะไม่มีใครรู้แต่เราก็รู้อยู่เเก่ใจ
เเล้วเทวดารอบตัวเราก็ยังรู้ด้วยนะคะ เเบบที่คุณครูสอนไง ซึ่งข้าศึกของ หิริ ก็คือ อหิริกะ
หมายถึงความไม่ละอายค่ะ คนที่ไม่มีความละอายต่อบาป ก็ไม่ต่างอะไรกับสัตว์เดรัจฉานที่มันไม่รู้ผิดชอบชั้วดี
จะพูดเเบบนั้นเสียทีเดียวก็ไม่ได้ เพราะสัญชาตญาณของสัตว์บางครั้งก็ยังดีกว่าคนบางคนเสียอีก จริงมั้ย?
2. โอตตัปปะ คือความเกรงกลัวก็บาป กลัวที่จะได้รับผลของการทำชั่ว
เช่น เวลาที่เราคิดจะลอกข้อสอบเพื่อนเเต่ไม่กล้าเพราะกลัวถูกทำโทษ นี่ก็ถือว่าเป็น โอตตัปปะ
ข้าศึกของโอตตัปปะก็คือ อโนตตัปปะ ได้เเก่ความไม่เกรงกลัวต่อบาป
อันนี้อันตรายค่ะ เพราะคนพวกนี้เขาทำได้ทุกอย่าง ไม่กลัวอะไรทั้งสิ้นควรอยู่ให้ห่างๆนะ
นอกจากจะมีชื่อว่า โลกบาลธรรมเเล้ว ยังมีอีก 2 ชื่อค่ะ คือ เทวธรรม หมายถึง ธรรมที่จะทำให้คนเป็นเทวดา ใครที่ปฏิบัติเป็นประจำ ก็จะได้ชื่อว่าเทวดาบนดินค่ะ
เเละ สุกกธรรม คือ ธรรมอันขาว หมายถึง เมื่อเราปฏิบัติเเล้วเราก็จะ บริสุทธิ์จากบาป เป็นคน ขาวสะอาดด้วยค่ะ
นี่ก็คือ ธรรมะวันละนิดจิตเเจ่มใสประจำวันนี้นะคะ อย่าลืมเอาไปใช้กันนะค่ะ ไม่ใช่เรื่อง ธัมมะธัมโม เกินกว่าที่เราจะเข้าใจหรอกค่ะ
|
: April 24, 2009, 04:21:57 PM
: Dorapear
|
ขอบคุณค่ะ
|
: April 24, 2009, 08:48:16 AM
: สารวัตรนักเรียน
|
สาธุ!
|
: April 24, 2009, 07:35:19 AM
: Pu_Pu
|
ขอแก้นิดนึงนะคะ
ตรงที่บอกว่าอัปปมาทะ
ของแก้เป็น ปมาทะ คือความประมาทค่ะ
ส่วนอัปปมาทะ คือความไม่ประมาท ก็มีค่าพอๆกับสติอะค่ะ
|
: April 23, 2009, 06:46:16 PM
: Pu_Pu
|
(ยาวหน่อยแต่ได้ประโยชน์นะคะ)
สวัสดีค่ะทุกคน
วันนี้ปูมีธรรมเล็กๆน้อยๆมาฝากให้เพื่อนๆ ลองนำไปใช้กันดูค่ะ
ธรรมะเป็นเรื่องธรรมชาติที่มีอยู่แล้วเพียงแต่เราอาจจะยังไม่รู้ตัวเท่านั้นเอง
วันนี้วันแรก ขออธิบายซะหน่อยก่อนละกัน
คือว่าในทางพระพุทธศาสนาเรามีหลักธรรม หรือมีการเรียนการสอนวิชาธรรมะมานานแล้วค่ะ
หนังสือที่ใช้เรียนเราเรียกว่า หนังสือ นวโกวาท แต่หนังสือเล่มนี้ก็ยังไม่ใช่ทั้งหมดของหลักธรรม
หลักธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ มี 84,000 พระธรรมขันธ์ ซึ่งต้องอาศัยเวลามากมายในการศึกษา
ปูโชคดีที่ได้มาศึกษาแม้เพียงเศษเสี้ยวเล็กๆ แต่ก็พอมีความรู้เลยอยากเอามาแบ่งให้เพื่อนลองเอาไปใช้กันดูค่ะ
เริ่มกันที่ ทุกะ คือ หมวด 2 (ธรรมในทางพระพุทธศาสตร์หมวดแรกคือหมวด2 ทุกหลักธรรมจะมีข้อย่อยอยู่ 2 ข้อค่ะ เราไม่มีหมวด 1 นะคะ)
พหุปการธรรม (อ่านว่า พะ-หุบ-ปะ-กา-ระ-ทำ) คือธรรมมีอุปการมาก 2 อย่าง
1. สติ คือความระลึกได้ ใช้ ก่อนทำ ก่อนพูด
และก่อนคิด เพื่อให้ระลึกได้ว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ควรกระทำ
สิ่งใดเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ หรือการคิดวางแผน
ระลึกถึงผลที่จะตามมา แม้กระทั่งการระลึกถึงสิ่งเคยได้ทำ
และคำที่เคยได้พูดไว้
โดย ข้าศึก (ภาษาธรรมะเขาเรียกกันอย่างนี้อะค่ะ มันก็คือ สิ่งตรงข้ามนั่นเอง )ของสติคือ อัปปมาทะ (ไม่ได้เขียนผิดนะคะ ภาษาบาลีเขียนแบบนี้ค่ะ )
ได้แก่ความประมาท มีคำกล่าวว่า ความประมาทเป็นหนทางสู่ความตาย ผู้ไม่ประมาทได้ชื่อว่าไม่ตาย 2. สัมปชัญญะ คือความรู้ตัว ใช้ขณะทำ ขณะพูด และขณะคิด
เพื่อให้เราควบคุมตนเองไม่ให้หลงไปกระทำในสิ่งที่ผิด โดยข้าศึกของสัมปชัญญะ
คือ อญาณะ ได้แก่ความไม่รู้ตัว ไม่รู้ว่าตนเองกำลังทำอะไรอยู่ ไม่รู้ว่าสิ่งที่ตนเองกระทำอยู่ถูกต้องหรือไม่
ที่ได้ชื่อว่าพหุปการธรรม เพราะว่า ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าแปลว่าธรรมมีอุปการมาก หมายถึงธรรมะที่มีอุปการะคือบุญคุณแก่เรา
เพราะทำให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปลอดภัย ไร้ภยันตรายจากอุบัติเหตุและความชั่วทั้งปวง
รวมไปถึงเพื่อนๆที่กำลังอ่านหนังสือสอบ ก็ควรใช้สติ ระลึกถึงสิ่งที่เราจะกระทำ สิ่งที่เราจะไปเล่น ไปคุย ไม่อ่านหนังสือ ว่าถูกต้อง หรือไม่
ใช้สัมปชัญญะ มีความรู้ตัวว่าขณะนี้เราอ่านหนังสือมากพอหรือยัง
อย่าลืมเอาไปใช้กันนะค่ะ แล้วพรุ่งนี้ปูจะเอาหลักธรรมที่ 2 ในหมวดนี้มาฝากค่ะ
|