ขอตอบแบบหลักอภิธรรม
1.ผู้ฝึกต้องมีความรักในตัวคนที่มีสมาธิสั้นเพื่อที่จะได้มีความอดทนได้อย่างต่อเนื่องที่จะฝึกเขา
2. ใช้หลัก อาเสวนะปัจจัย(เสพคุ้นบ่อยๆ) ในการฝึกให้มีสมาธิ หรือ มีความจรดจ่อต่อสิ่งที่จะทำ โดยการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งซ้ำๆทุกวัน เช่น อาบน้ำ แปรงฟัน ตรงเวลาเดิมได้ยิ่งดี ถ้าเป็นเด็กเล็กอาจชี้ให้ดูเข็มนาฬิกาก่อนที่จะทำกิจกรรมนั้นๆทุกครั้งๆ สัญญาในการทำการงานต่างๆจะเกิดขึ้นกับกายของเขา
3. คุณต้องทำให้เขารักและไว้ใจคุณ เพื่อตัวคุณจะเป็นจุดที่เป็นที่ตั้งสมาธิของเขาและมีความสุขที่จะได้ทำอะไรร่วมไปพร้อมกับคุณ
4.การฝึกสมาธิ
–สวดมนต์ร่วมกับเขา เริ่มบทสั้นๆก่อนๆ ถ้าเขาทนได้เริ่มบทยาวขึ้นแต่อย่างนานมาก (15-30 นาที)ตอนแรกเขาไม่สวดก็ให้ฟังคุณสวด อาจต้องมีการบังคับให้อยู่กับคุณถ้าจำเป็น (ทำซ้ำๆทุกวัน ตรงเวลา) เพราะ: วิตก วิจาร เป็นจุดเริ่มต้นของสมาธิ และเสียงสวดมนต์เป็นเสียงที่เป็นมิตรกับหทยวัตถุ(ที่ตั้งของจิต)
- สอนให้เขานับเลขต่างๆ เช่น นับดาว นับสตางค์ในกระปุ เพราะตัวเลขที่เพิ่มมากขึ้นมีพลังดึงดูดวิตก ฉันทะได้อย่างน่าอัศจรรย์ แต่อันนี้เขาต้องรู้ความหมายของตัวเลขนั้นมาบ้างแล้ว เช่น 11 มากกว่า 10
- ก่อนนอนหรือระหว่างทำกิจกรรมต่างหาเพลงคลาสิกของบีโธเฟ่นเปิดฟังไปด้วย เพราะบีโธเฟ่นเป็นนักดนตรีที่หูหนวก ดังนั้นเพลงที่ไพเราะของเขาจึงแต่งโดยการรับรู้ของหทยวัตถุ เพราะ หทยวัตถุของเขาจะถูกจัดระเบียบด้วยเสียงเพลงของบีโธเฟ่น (ห้ามเปิดเพลงกระโชกเหมือนคนโกรธทะเลาะกันให้ฟัง เพราะเสียงทะเลาะกันเป็นพิษต่อหทยรูปอย่างยิ่ง)
- ให้เขาวาดภาพอะไรก็ได้ เพราะอุทธัจจะของเขาจะจำกัดอยู่ภายในกรอบของกระดาษ
จากลานธรรมะเสวนา