Kru Somsri's English School
Welcome, Guest. Please login or register.
November 23, 2024, 11:46:51 PM

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
191147 Posts in 46430 Topics by 16308 Members
Latest Member: GerardoL90
* Home Help Search Login Register
+  Kru Somsri's English School
|-+  ห้องสนทนาของโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษคุณครูสมศรี
| |-+  คุยกับคุณครูสมศรี
| | |-+  Post reply ( Re: [บทความดีๆ]...อิทธิบาท๔...ธรรมะดีๆที่เราทำกันแบบผิดๆ )
Post reply
Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
Name:
Email:
Subject:
Message icon:
BoldItalicizedUnderlineStrikethrough|GlowShadowMarquee|Preformatted TextLeft AlignCenteredRight Align|Horizontal Rule|Font SizeFont Face
Insert FlashInsert ImageInsert HyperlinkInsert EmailInsert FTP Link|Insert TableInsert Table RowInsert Table Column|SuperscriptSubscriptTeletype|Insert CodeInsert Quote|Insert List
Smiley Wink Cheesy Grin Angry Sad Shocked Cool Huh Roll Eyes Tongue Embarrassed Lips sealed Undecided Kiss Cry
+ Additional Options...

shortcuts: hit alt+s to submit/post or alt+p to preview



Topic Summary
Posted on: April 26, 2011, 11:51:21 AM
Posted by: chompu22
บทความต่อไปนี้ย่อมาจากเว็บที่เขาสอนภาษาอังกฤษผ่านเว็บค่ะ ว่างๆลองเข้าไปดูกันก็ได้ มีอะไรน่าสนใจเยอะมากๆเลยทีเดียว
credit:http://english-for-thais-2.blogspot.com/2010/01/1316.html
****บทความนี้ สามารถนำไปย่อใส่สมุดบันทึกการอ่านของร.ร. ไว้ส่งอาจารย์ตอนท้ายเทอมได้ Cheesy****

อิทธิบาท ๔ เป็นธรรมที่คนไทยต่างรู้ดีว่าจะทำให้ประสบผลสำเร็จในด้านการเรียนและการงาน
*ซึ่งจะต้องทำไปตามลำดับ*
คือ
อิทธิบาท ข้อ 1 ฉันทะ – รักในสิ่งที่ทำ
อิทธิบาท ข้อ 2 วิริยะ   – ขยันทำสิ่งนั้น
อิทธิบาท ข้อ 3 จิตตะ  – ทำสิ่งนั้นด้วยใจจดจ่อ หรือ มีสมาธิ
อิทธิบาท ข้อ 4 วิมังสา – ใคร่ครวญเพื่อหาวิธีแก้ไขปรับปรุงสิ่งที่ทำ
ทุกคนที่เรียนภาษาอังกฤษด้วยอิทธิบาท 4 ข้อ ไปตามลำดับ 1-2-3-4 ย่อมประสบความสำเร็จ คือ เก่งภาษาอังกฤษ

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าสนใจที่พบก็คือ
ในขณะที่คนไทยต่างรู้จักอิทธิบาททั้ง 4 ข้อ แต่แทนที่จะใช้อิทธิบาท 4 จากข้อ 1 -2 -3 -4 ไปตามลำดับ
กลับทำย้อนหลังคือ 4-3-2-1
ซึ่งผลจากการปฏิบัติธรรมย้อนหลังนอกคำสอนครูบาอาจารย์เช่นนี้ มีประสิทธิภาพน้อยกว่าการปฏิบัติธรรมตามวิธีปกติ

ข้อสังเกตเช่นนี้มาจากอะไร?
จะเห็นว่า เมื่อเราเรียนภาษาอังกฤษตามวิธีของอิทธิบาท 4 ข้อ
    จะต้องเริ่มต้นด้วยความรัก
    เมื่อรักก็จะขยันทำ และทำอย่างมีสมาธิ
    และใช้สมาธิใคร่ครวญเพื่อแก้ไขปรับปรุง
ทำไปตามลำดับเช่นนี้ ความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพก็เกิดขึ้นได้เร็ว

    แต่ปัญหาอยู่ตรงที่ว่า คนไทยและเด็กไทยจำนวนไม่น้อยไม่รักภาษาอังกฤษ ไม่ชอบภาษาอังกฤษ หรือบางคนถึงขั้นเกลียดภาษาอังกฤษ

    แต่...แต่ความจำเป็นที่เห็นและเป็นอยู่บอกว่า   
    ถ้าไม่รู้ภาษาอังกฤษ ถ้าพูดหรือเขียนภาษาอังกฤษไม่ได้ ก็จะแย่กว่าชาวบ้านที่เขาเก่งภาษาอังกฤษ

เมื่อทำด้วยใจไม่รัก หรือไม่สามารถทำใจให้รักได้ คือ ไม่มีฉันทะ อิทธิบาท ข้อ 1
แต่ทุกคนต้องการประสบความสำเร็จด้วยภาษาอังกฤษ
    จึงทำให้ใครหลายๆคน ไป start อิทธิบาทธรรมที่ ข้อ 4 และต่อด้วยข้อ 3 -2 -1

ทำให้มีปรากฏการณ์ ดังนี้

อิทธิบาท ข้อ 4 วิมังสา (ใคร่ครวญเพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดในการเรียนภาษาอังกฤษ)
    จะพบว่าหนังสือ หรือคำถามประเภท How- to เป็นที่นิยมมาก
    หลายคนพยายามหาคำตอบให้ได้ว่าจะฟิตภาษาอังกฤษด้วยวิธีใด จึงจะได้ผลดีที่สุด เร็วที่สุด ง่ายที่สุด จะหาแหล่งการศึกษา เช่น โรงเรียนสอนภาษา, หนังสือ, ซีดี, เว็บ, โปรแกรม ที่ดีที่สุด
    และแทบทุกคนก็มีคำตอบให้ตัวเองว่า จะต้องเรียนภาษาอังกฤษอย่างไร
แต่ ก็หยุดอยู่แค่นี้ เข้าทำนอง รู้แต่ไม่ทำ หลายคนชอบดาวน์โหลดไฟล์หนังสือ หรือ MP3 เก็บไว้ไม่น้อย แต่ก็หยุดอยู่แค่นี้ ... หยุดอยู่แค่นี้จริงๆ

อิทธิบาท ข้อ 3 จิตตะ (เรียนด้วยสมาธิ)
    การที่รู้วิธีเรียน แต่ไม่เริ่มต้นเรียน ก็เพราะไม่มีความรักต่อการเรียนภาษาอังกฤษ
    แต่ก็ต้องฮึดสู้ กัดฟันว่าจะต้องฟิต ภาษาอังกฤษอย่างจริงๆจังๆ เสียที
ณ นาทีที่มีความตั้งใจเช่นนี้เกิดขึ้นและเริ่มต้นเรียน เราก็อยู่ในชั่วโมงที่จิตเป็นสมาธิ และเรียนด้วยสมาธิ
    นี่เห็นได้เลยว่า ได้ใช้อิทธิบาททั้งหมด 2 ข้อในการเรียนภาษาอังกฤษ
    คือ อิทธิบาท ข้อ 4 – รู้ว่าต้องเรียนอย่างไร
    และอิทธิบาท ข้อ 3 – เรียนด้วยใจที่เป็นสมาธิ
แต่ก็ยังไม่มีใจรักที่จะเรียนอยู่นั่นเอง

อิทธิบาท ข้อ 2 (ขยันเรียน)
    หลังจากรู้วิธีเรียน ตามอิทธิบาทข้อ 4
    แล้วจึงมีสมาธิในการเรียน ตามอิทธิบาทข้อ 3
แต่ถ้าหยุดอยู่แค่นั้น ก็จะเป็นการเรียนแบบไฟไหม้ฟาง คือ นานๆจะขยันสักที และก็ทิ้งไปนาน
    แต่บางคนก็ใจสู้และก้าวเข้ามาถึงอิทธิบาทข้อ 2 คือมีสมาธิในการเรียนอย่างต่อเนื่อง และไม่เลิกราง่ายๆ คือ ขยัน
    ท่านเหล่านี้ก็จะได้รับความสำเร็จมากกว่าคนที่มีอิทธิบาทเพียง 2 ข้อ คือ ข้อ 3 กับข้อ 4
    เพราะอิทธิบาทข้อ 2 คือความต่อเนื่อง เหมือนหยอดตังค์ใส่กระปุก ถ้าหยอดทุกวันก็จะเต็มเร็ว แต่ถ้านานๆหยอดกันที ก็คงนานกว่าจะเต็ม

อย่างไรก็ตาม ถ้าหยุดอยู่แค่นี้ คือ
มีอิทธิบาทข้อ 4 (รู้วิธีเรียน)
อิทธิบาทข้อ 3 (เรียนด้วยสมาธิ)
และอิทธิบาทข้อ 2 (ขยันเรียน)
    แต่ขาดอิทธิบาทข้อ 1 คือรักที่จะเรียน สิ่งที่เราเห็นก็คือ ท่านเหล่านี้ก็จะเรียนภาษาอังกฤษอย่างคนอมทุกข์ รำคาญ หงุดหงิด เบื่อ จำใจ ขณะที่เรียน
    เพราะต้องทำสิ่งที่ตัวเองไม่อยากทำ และมีโอกาสสูงที่จะหยุดขยัน อย่างที่มีสำนวนว่าไว้ “ความอดทนของคนมีขีดจำกัด”


-----------------------------------------
วิธี ทำใจให้รัก ภาษาอังกฤษ 2 วิธีที่ผมจะพูดต่อไปนี้ ผมเชื่อว่าหลายท่านเคยได้ยินมาแล้ว จึงไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ก็ขออนุญาตเอามาสรุปซ้ำก็แล้วกันครับ
1. มองให้เห็นประโยชน์ของภาษาอังกฤษ
    พยายาม มองบ่อยๆให้จำได้ ให้ระลึกได้โดยอัตโนมัติว่าภาษาอังกฤษมีประโยชน์ต่อเราอย่างไร
    หรือถ้าไม่เก่งภาษาอังกฤษจะเสียประโยชน์อะไรไป
การ ติดข้อความ หรือภาพ หรือสัญลักษณ์ หรือไอคอน หรืออะไรก็ได้ที่โต๊ะทำงานเพื่อเตือนใจให้เห็นคุณค่าของภาษาอังกฤษอยู่เสมอ ก็อาจจะช่วยให้เปลี่ยนใจมารักภาษาอังกฤษมากขึ้นบ้าง ไม่มากก็น้อย

2. ทำอะไรก็ได้ให้ประสบความสำเร็จสักอย่างเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ
    ที่ง่ายที่สุดก็เช่น กำหนดเป้าหมายและระยะเวลา ที่จะบรรลุกิจกรรมการศึกษา
เช่น ภายในเย็นวันนี้ ภายในสัปดาห์นี้ ภายในสิ้นเดือนนี้ ฉันจะต้องสามารถอ่านบทความที่หมายตาไว้จบ 3 บทความ และรู้เรื่องตลอด
ภายในสิ้นเดือนนี้จะต้องอ่านเรื่องสั้นภาษาอังกฤษจบ 1 เรื่อง
หรือ จะต้องอ่าน Bangkok Post หรือ The Nation อย่างน้อยวันละ 1 ข่าว และเข้าใจเนื้อหาโดยตลอด
หรือจะต้องฟังข่าวสั้น BBC หรือ CNN ซึ่งยาวประมาณ 5 นาที ทุกวัน จะฟังกี่เที่ยวก็ได้ แต่ต้องให้เข้าใจอย่างน้อย 50% ของเนื้อข่าว
หรือจะต้องฝึกเล่าเรื่องเป็นภาษาอังกฤษ ให้ผู้ฟังในมโนภาพฟัง อย่างน้อยวันละ 5 นาที เป็นต้น
    การตั้งเป้าหมายและกำหนด Deadline ที่คิดว่าตัวเองสามารถทำได้สำเร็จ และเมื่อทำได้จริงก็จะมีกำลังใจและความรักตามมา
    ในเรื่องนี้ผมมีข้อแนะนำ 2 ข้อ คือ ให้เป้าหมายที่กำหนดนี้ 1)ไม่ควรยาวหรือยากเกินไป และ 2) เป็นเนื้อหาที่เรารัก
เช่น เราชอบข่าวดารา นักร้อง กีฬา แฟชั่น นิทาน การ์ตูน ฯลฯ ก็ให้เนื้อเรื่องอยู่ในประเภทนี้ การที่เราไม่ชอบภาษาอังกฤษ แต่ชอบเนื้อเรื่อง ก็คงช่วยให้ความรักที่เรามีต่อเนื้อเรื่องถ่ายเทไปสู่ความรักภาษาอังกฤษได้ บ้างไม่มากก็น้อย

-----------------------------------------

    ท่านผู้อ่านครับ ในช่วง 3 ปีที่ทำบล็อกนี้ ผมค่อย ๆ พบว่า ปัญหาพื้นฐานที่หนักมากๆ ของเด็กไทย หรือคนไทย ในการเรียนภาษาอังกฤษ ไม่ได้อยู่ที่ครูไม่เก่ง หลักสูตรไม่ดี วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ไม่ทันสมัย ผู้เรียนมีพื้นฐานอ่อน จำศัพท์ได้น้อย หรือเมื่อเรียนผ่านเน็ต ปัญหาใหญ่ก็ไม่ได้อยู่ที่เน็ตช้า ดาวน์โหลดยาก ไม่ค่อยรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ ใช้งานโปรแกรมไม่เป็น ฯลฯ
    ปัญหาเหล่านี้เล็กน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับปัญหาพื้นฐาน
    คือ ไม่รักที่จะเรียนภาษาอังกฤษ หรือ ขาดอิทธิบาทข้อที่ 1 คือ ฉันทะ นั่นเอง

    แต่การที่จะทำให้เกิดฉันทะ ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าทำได้ง่ายจริง ป่านนี้คนไทยคงรักและเก่งภาษาอังกฤษมากกว่านี้อีกเยอะ
    และแม้ด้วย 2 วิธีที่ผมแนะนำไว้ข้างต้น คือ มองให้เห็นประโยชน์ของภาษาอังกฤษ และสร้างกำลังใจให้เกิดขึ้นจากความสำเร็จ
    ผมก็ยังไม่แน่ใจว่า จะทำให้คนที่เกลียดหันมารักภาษาอังกฤษได้เพิ่มขึ้นอีกสักกี่ %

ไหนๆก็ไหนๆแล้ว ตอนนี้ ผมขอชวนท่านผู้อ่านมองภาพกว้างๆอย่างนี้ก่อนแล้วกันครับ แล้วเดี๋ยวเราค่อยกลับมาพูดเรื่องภาษาอังกฤษอีกที

    ในชีวิตของคนเรานั้น คงมีทั้งสิ่งที่เราชอบและไม่ชอบ จะให้เรารักทุกเรื่องคงเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้าท่านจะไม่ชอบภาษาอังกฤษ ก็เป็นเรื่องปกติ 100% ของคนเรา เพราะเราก็เป็นคนธรรมดา
    แต่เรื่องที่ผมอยากจะชี้ก็คือ ณ บัดนี้ ภาษาอังกฤษคือความจำเป็นของคนที่มีชีวิตอยู่ในยุคสมัยนี้ ซึ่งไม่เหมือนสมัยก่อน
    จำได้ว่าสมัยที่ผมเรียนจบ ม.ศ.3 และจะขึ้นต่อ ม.ศ.4 นักเรียนรุ่นผม ก็จะถามตัวเองว่า ถนัดสายวิทย์ หรือสายศิลป์
ถ้าสายวิทย์ ก็ไปเรียนคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ
ถ้าสายศิลป์ ก็ไปเรียนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
มันคล้ายๆกับว่า ใครที่เลือกสายวิทย์ ไม่มีอะไรที่จะต้องมาเกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษเลย
    ต่อมาเมื่อผมเรียนจบและทำงานได้หลายปี และอยู่ในหน่วยงานซึ่งเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่จบมาจากสายวิทย์และเป็นช่าง
เจ้าหน้าที่เหล่านี้จำนวนไม่น้อยก็คือคนรุ่นผม ซึ่งเป็นผลผลิตของการศึกษายุคนั้น ล้วนไม่ชอบภาษาอังกฤษ

    ปัญหาที่ผม เห็นก็คือ วิทยาการทางช่างที่เขาเรียนมาตั้งแต่สมัยโน้น โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งภาษาอังกฤษนั้น
    บัดนี้หลายส่วนมันล้าสมัย และจำเป็นต้อง update และวิธีการ update ที่ practical ที่สุด
ก็คือ การศึกษาด้วยตัวเอง....ที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ
    ท่านผู้อ่านพอจะจินตนาการได้ไหมครับว่า
ถ้าความจำเป็นของหลายองค์กรในประเทศไทยคือการ update ความรู้ของบุคลากร
แต่ก็ทำได้ยากเพราะความอ่อนแอด้านภาษาอังกฤษ
คนไทยและประเทศไทยเรา จะแข่งขันกับชาติที่เขาแข็งแรงด้านภาษาอังกฤษไหวหรือครับ

    ไม่ใช่แต่ คนที่ทำงานด้านช่างเท่านั้น แม้แผนกอื่นๆในองค์กรที่ไม่ใช่ช่าง ความรู้ด้านภาษาอังกฤษก็จำเป็นเช่นกัน
ปกติแต่ละองค์กรจะมีแผนกติดต่อกับต่างประเทศ ชื่อว่า ฝ่าย”วิเทศสัมพันธ์”หรือ “International Relations” หรืออะไรทำนองนี้
และ ทุกอย่างที่องค์กรจะติดต่อกับต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือทางธุรกิจ ทางวิชาการ หรืออะไรก็ตาม จะต้องผ่านฝ่ายวิเทศสัมพันธ์นี้
เรื่องของ เรื่องก็คือ เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์นั้น ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ประสานงานขั้นต้น หรือ ตกลงในหลักการกับต่างประเทศเท่านั้น
ส่วนเนื้องานจริงๆที่ต้องสัมพันธ์กันนั้น จะต้องให้หน่วยงานภาคปฏิบัติซึ่งเป็นเจ้าของเรื่องในองค์กรนั้นรับไปทำ
เจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์ไม่มีทางที่จะเข้าไปรู้เนื้อหา ศัพท์แสง และรายละเอียดภาคปฏิบัติของทุกหน่วยงานในองค์กร
และเมื่อมีการเจรจากัน จะให้ล่ามแปลให้ทุกประโยค ก็เป็นเรื่องที่ไม่ practical อย่างยิ่ง
    ในกรณีนี้ ท่านผู้อ่านพอจะจินตนาการได้ไหมครับว่า ผลประโยชน์ของบุคคล หรือของหน่วยงาน หรือของประเทศ จะสะดุดมากเพียงใด ถ้าคนไทยขาดความสามารถด้านภาษาอังกฤษอย่างที่ผมเล่ามานี้

    ผมขอยกตัวอย่างอีก 2 เรื่อง ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้ ผมได้เดินทางไปเข้าร่วมการแข่งขันฝีมือแรงงานในระดับอาเซียน และนานาชาติ
แทบ ทุกปี เมื่อเปรียบเทียบทักษะภาษาอังกฤษของเยาวชนไทยกับเยาวชนชาติอื่นๆในภูมิภาค นี้ ไม่ต้องมองไปที่มาเลเซีย หรือฟิลิปปินส์หรอกครับ
เอาแค่อินโดนีเซีย หรือ เวียดนามก็พอ เด็กไทยก็ดูเหมือนจะสู้เขาได้ยาก
    และในปี 2015 ซึ่งข้อตกลงตาม ASEAN Economic Community จะมีผลบังคับใช้ ทำให้เขตอาเซียนเป็นเขตไร้พรมแดนด้านแรงงาน
คนในประเทศอาเซียนอื่นๆก็จะเข้ามาทำงานในเมืองไทยได้
และบริษัทต่างชาติที่มาลงทุนในเมืองไทยก็สามารถจ้างเขาเหล่านั้นได้
    สถานการณ์เช่นนี้ ถ้าคนไทยยังอ่อนแอด้านภาษาอังกฤษอย่างที่เห็นและเป็นอยู่ เราก็คงจะแย่เพราะถูกแย่งงานในประเทศของเราเอง

ปัญหา ที่เล่ามาทั้ง หมดนี้ ทำให้ย้อนกลับไปประเด็นเดิมคือ ทำอย่างไรคนไทย หรือเด็กไทยจึงจะเก่งภาษาอังกฤษมากขึ้น และทำอย่างไร คนไทยหรือเด็กไทยจึงจะรักภาษาอังกฤษมากกว่าทุกวันนี้
-----------------------------------------

    ท่านผู้อ่านครับ ถ้าสิ่งที่ผมเขียนต่อไปนี้ท่านอ่านแล้วรู้สึกเหมือนฟังพระเทศน์ ก็ต้องขอประทานอภัยด้วยครับ ผมมิได้ตั้งใจให้เป็นเช่นนั้นเลย
    แต่ที่เอามาเล่าก็เพราะมันเป็นสิ่งที่ผมใช้ได้ผลด้วยตัวเอง จึงอยากจะเอามาแบ่งปันฉันคนรักชอบพอกัน

    ณ จุดนี้ ผมอยากจะบอกว่า ถ้าเราไม่สามารถรักภาษาอังกฤษ ก็อย่าไปรักมันเลยครับ
แต่อย่างน้อยก็ไม่ควรจะเกลียด และเรียนภาษาอังกฤษด้วยใจที่เป็นกลาง
ไม่ต้องรักก็ได้ แต่ทำใจให้สงบขณะที่เรียน
    ถ้าเกิดความรู้สึกหงุดหงิด รำคาญ เบื่อหน่าย ท้อแท้ กังวล หรือความรู้สึกอะไรก็ตามที่เป็นลบ
ก็ให้เห็นว่ามันเป็นเพียงสักแต่ว่าความรู้สึก และไม่ต้องไป serious (ภาษาพระเรียกว่า “ยึดมั่นถือมั่น”) กับความรู้สึกลบเหล่านี้

    ถ้าเราเรียนภาษาอังกฤษด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นในความรู้สึกลบที่เกิดขึ้นในใจ
แม้จะไม่รัก แต่เราก็จะสามารถเรียนไปได้เรื่อยๆ อย่างได้ผลดีและไม่มีทุกข์
    นี่เป็นคำแนะนำของผมต่อทุกท่านที่ไม่รักภาษาอังกฤษ หรือเกลียดภาษาอังกฤษ
    แต่จำเป็นต้องพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ เพื่อช่วยยกระดับการทำงานและคุณภาพชีวิต

การทำใจให้เป็นกลางเช่นนี้ทำยากไหมครับ? ผมเห็นว่า ไม่ว่าจะทำยากหรือทำง่าย ก็น่าจะลองฝึกทำอยู่เรื่อยๆ

    ท่านลองสังเกตอย่างนี้ซีครับ ทุกวันเมื่อท่านลุกขึ้นในเวลาตื่นนอนตอนเช้านั้น
    ความรู้สึกแรกของท่านคือความรู้สึกอะไร เช่น มีความกระตือรือร้นอยากลุกขึ้นไปทำนั่นทำนี่ด้วยความสนุกสนาน ชีวิตช่างเต็มไปด้วยความหวัง หรือว่า เป็นความรู้สึกเบื่อหน่าย เซ็ง วิตกกังวล ซึมเซา เพลีย หงุดหงิด ฯลฯ
    ขอให้ฝึกนิสัยที่จะสังเกตความ รู้สึกแรกที่เกิดขึ้นเมื่อตื่นนอนตอนเช้า การสังเกตเช่นนี้เป็นความสามารถที่ควรฝึกให้ชำนาญ
    ถ้าชำนาญแล้วจะมีประโยชน์ต่อชีวิตอย่างยิ่ง

    เมื่อสังเกตไปสักระยะหนึ่ง ท่านจะพบว่า ความรู้สึกแรกที่เกิดขึ้นในใจของท่านเมื่อตื่นนอนตอนเช้า
ไม่ว่าจะเป็นบวกหรือลบ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเอง ท่านไม่ได้ตั้งใจหรือวางแผนให้มันเกิดขึ้นอย่างนั้น

เรื่องที่ต้องถามก็คือ
    ท่านยอมให้ความรู้สึกแรกที่เป็นลบจูงท่านออกจากที่นอน และ start กิจกรรมวันนั้นทั้งวันหรือไม่
    เช่น เบื่ออย่างยิ่งกับงานที่ต้องทำซ้ำๆซากๆอีกแล้วในวันใหม่นี้ หรือ กังวลหนักใจกับสิ่งที่ต้องเจอในวันนี้ หรือร้อนรนอย่างยิ่งกับสิ่งที่มุ่งหวังว่าต้องได้รับในวันนี้ หรือมีบุคคลที่ท่านขุ่นเคืองใจปรากฏในความรู้สึกแรกเมื่อตื่นนอนตอนเช้า
    ถ้าเป็นอย่างที่กล่าวมาข้างต้น นี่คือการขาดสติประเภทที่ 1 คือ ปล่อยให้ความรู้สึกลบครอบงำใจก่อนออกไปทำงาน

    แต่ถ้าท่านรู้สึกว่าความรู้สึกลบที่เกิดขึ้นนี้เป็นของไม่ดี และท่านไม่ต้องการให้ตัวเองรู้สึกเช่นนี้
และก็พยายามที่จะขจัดความรู้สึกเช่นนี้ออกไปจากใจ
แต่มันก็ดื้อไม่ยอมออกไปง่ายๆ
ท่าน จึงออกจากบ้าน โดยมีความรู้สึก 2 อย่าง ต่อสู้กันในใจ คือ ความรู้สึกที่เป็นลบ กับความรู้สึกที่ต้องการขจัดความรู้สึกที่เป็นลบ จึงเป็นการ start ที่ไม่ค่อยดีนักเช่นกัน   
    และนี่คือการขาดสติประเภทที่ 2 คือ ปล่อยให้ความรู้สึกขัดแย้งเกิดขึ้นและครอบงำใจ

    ย้อนมาถึงเรื่องการ เรียนภาษาอังกฤษที่ผมบอกว่า ขอให้เรียนภาษาอังกฤษด้วยใจที่เป็นกลางเถิดครับ
    อย่า start การเรียนภาษาอังกฤษด้วยความรู้สึกที่เป็นลบ
หรือ start ด้วยความรู้สึกที่ขัดแย้ง ดังตัวอย่างที่ผมพูดเกี่ยวกับความรู้สึกที่ท่านออกจากบ้านไปทำงานตอนเช้า
    แต่ขอให้เริ่มต้นเรียนภาษาอังกฤษด้วยใจที่เป็นกลาง
    คือ ไม่ว่ามันจะรู้สึกอย่างไร ก็เป็นเพียงแค่ความรู้สึกที่เกิดขึ้น
    ให้ยอมรับ 100% เลยว่ามีความรู้สึกเช่นนี้เกิดขึ้นแล้วในใจ โดยไม่ต้องต้อนรับ แต่ก็ไม่ต้องรังเกียจ เมื่อตอนที่มันเข้ามาสู่ใจ
เราไม่ได้เชิญมันเข้ามา และมันก็จะออกไปจากใจโดยเราไม่ได้ขับไล่เช่นกัน

    การต้อนรับและขับไล่ความรู้สึกที่เป็นลบมีแต่จะทำให้ความรู้สึกลบนั้นอยู่ทนและรุนแรงมากขึ้น
    เราเพียงยอมรับว่ามันเข้ามา เราเพียงอยู่เฉยๆ ถึงเวลามันก็ออกไปเอง

-----------------------------------------
    เมื่อผมมาทำบล็อกนี้
    ผมมุ่งหวังว่าท่านผู้อ่านจะได้รับประโยชน์จากภาษาอังกฤษมากขึ้น
    แต่ผมก็รู้ว่าคงเป็นไปได้ยากที่ทุกคนจะรักภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่ไม่ได้ชอบภาษาอังกฤษมาแต่เดิม
    อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่าทุกคนต่างตระหนักแล้วว่าภาษาอังกฤษคือความจำเป็นของยุคสมัย
ผมปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้ท่านผู้อ่านทุกท่านซึ่งรวมทั้งท่านที่เกลียดภาษา อังกฤษ ได้รับประโยชน์มากขึ้นจากการเก่งภาษาอังกฤษ
แต่ผมก็ไม่ต้องการให้ใครเรียนภาษาอังกฤษอย่างเป็นทุกข์
    แต่อยากให้ทุกคนเรียนภาษาอังกฤษด้วยใจที่เป็นกลาง ปล่อยวาง ซึ่งผมเชื่อว่าการปล่อยวางนี่แหละ จะทำให้เกิดฉันทะ คือ ความรักที่แท้จริงในสิ่งที่ทำ ซึ่งจะตามมาด้วยความสำเร็จ
    การปล่อยวางคือ Sightseeing, คือเราเพียง see...sight ต่างๆที่เกิดขึ้นในใจ
    ซึ่งอาจจะเป็นความรู้สึกเบื่อ หรือเกลียดที่จะเรียนภาษาอังกฤษ แต่ sight ก็เป็นสักแต่ว่า sight ความรู้สึกก็เป็นสักแต่ว่าความรู้สึก ไม่มีอะไรมากกว่านั้น ไม่มีอะไรต้อง serious ไม่มีอะไรต้องยึดมั่น

    ท่านผู้อ่านครับ ผมขออวยพรให้ทุกท่านมีฉันทะ ความรัก และใจที่สงบ – ปล่อยวาง – เป็นกลาง ในการเรียนภาษาอังกฤษ และขอให้ทุกท่านได้รับความสำเร็จในการเรียนภาษาอังกฤษสมดังตั้งใจ
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2015, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!