ระบบการคัดเลือกแบบใหม่ เริ่มใช้ปี 2561.. ไม่ใช่เอ็นทรานซ์นะ

 

 

ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาแบบใหม่นี้ ไม่ใช่เอ็นทรานซ์  แต่เป็นระบบแอดมิชชั่นเดิม

ที่มีการปรับปรุงรูปแบบ...  โดยชื่อ "เอ็นทรานซ์ 4.0"  ที่เรียกกันในขณะนี้เป็นเพียงการสื่อความหมายเท่านั้น  

ทาง ทปอ.  ไม่ได้ใช้ชื่อนี้เรียกระบบแอดมิชชั่นใหม่นะ!

 

ทำไมต้องปรับ?

เนื่องจากในหลายปีที่ผ่านมา กว่าจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยนั้นต้องผ่านการสอบหลายครั้ง ทั้งการสอบข้อสอบกลางอย่าง GAT-PAT, 9 วิชาสามัญ และ O-Net ที่จัดตลอดทั้งปี อีกทั้งบางมหาวิทยาลัยก็มีการจัดสอบตรงของตนเอง และมีการรับที่หลายรอบเกินไป เกิดการวิ่งสอบและกันที่เกิดขึ้น รวมทั้งเงินค่าสมัครและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เสียซ้ำซ้อนและมากเกินไปนั่นเอง..  อีกทั้งการสอบและการรับนิสิตนักศึกษาใหม่ที่มีตลอดปี ทำให้การเรียน ม.6 ของแต่ละคนเรียนได้อย่างไม่เต็มที่ คุณครูก็ต้องเร่งสอนเพื่อให้ทันการสอบ  ด้วยความวุ่นวายเหล่านี้ เลยมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และครั้งใหม่กับน้องๆ ปี 2561 นั่นเอง..

“โดยยึดหลักการให้เด็กอยู่ในห้องเรียนจนจบการศึกษา ไม่เกิดปัญหาการวิ่งรอกสอบ

ไม่เป็นภาระค่าใช้จ่ายกับผู้ปกครอง  เด็กมีสิทธิ์ที่เลือกเรียนตามที่ต้องการ

ขณะเดียวกัน  มหาวิทยาลัยก็มีสิทธิ์ที่จะเลือกเด็กได้เช่นกัน”

 

ปรับอะไรบ้าง?

การสอบทั่วไป

สำหรับบรรดาการสอบของข้อสอบกลางทั้งหมดจะเลื่อนไปสอบหลังน้องๆ จบชั้น ม.6 ทั้งหมด  โดยจัดสอบในเดือนมีนาคม – เมษายน 2561 ทั้งหมด

6 สัปดาห์  
โดยข้อสอบกลางที่ สทศ จัดสอบ (ได้แก่ GAT / PAT / 9 วิชาสามัญ / O-Net) จะจัดสอบใน 3 สัปดาห์และ และ 3 สัปดาห์หลังจากนั้นจะ

เป็นการสอบวิชาเฉพาะต่างๆ ที่ทางมหาวิทยาลัยจัดสอบและข้อสอบนั้นจะต้องไม่ซ้ำซ้อนกับที่เคยสอบมาก่อน

 

 

การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถานบันอุดมศึกษาแบบใหม่!

แบ่งเป็น 5 รอบด้วยกัน คือ

 

  • รอบที่ 1 : การรับด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) โดยไม่มีการสอบข้อเขียน
    • สำหรับ : น้องๆ นักเรียนทั่วไป, นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ, นักเรียนโควตา, นักเรียนเครือข่าย
    • เริ่มเปิดรับสมัคร : เดือนตุลาคม 2560 – เดือนธันวาคม 2561
    • ยื่นสมัครและคัดเลือกโดย : มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง
  • รอบที่ 2 : การรับแบบโควตาที่มีการสอบปฏิบัติและข้อเขียน
    • สำหรับ : น้องๆ นักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่หรือภาค, นักเรียนในโรงเรียนเครือข่าย, นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ
    • เริ่มเปิดรับสมัคร : เดือนมกราคม – เดือนมีนาคม 2561
    • ยื่นสมัครและคัดเลือกโดย : มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง
  • รอบที่ 3 : การรับตรงร่วมกัน
    • สำหรับ : น้องๆ นักเรียนที่อยู่ในโครงการ กสพท. (กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย), โครงการอื่นๆ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
    • การเลือกสอบ : สามารถสมัครสอบและเลือกได้ 4 สาขาวิชา โดยไม่มีลำดับ หมายความว่า 4 สาขาวิชาที่สมัครไปนั้นน้องๆ มีโอกาสผ่านการคัดเลือกทั้งหมด.. (แล้วค่อยเลือกมหาวิทยาลัยที่ต้องการศึกษาต่อในเคลียริ่งเฮาส์ของรอบที่ 3 อีกครั้ง) โดยที่จะมีการจัดสอบร่วมกันในเวลาเดียวกัน ส่วนเกณฑ์การคัดเลือกแต่ละมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนด
    • เริ่มเปิดรับสมัคร : เดือนพฤษภาคม 2561
    • ยื่นสมัครผ่าน : ทปอ. (ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย) หลังจากนั้นจะส่งข้อมูลผู้สมัครไปให้มหาวิทยาลัยเป็นผู้ประมวลคัดเลือก
  • รอบที่ 4 : การรับแบบ Admission
    • สำหรับ : น้องๆ นักเรียนทั่วไป
    • การเลือกสอบ : สามารถสมัครสอบและเลือกได้ 4 สาขาวิชา โดยมีลำดับ (เหมือนแอดมิชชั่นในปีที่ผ่านมา) แต่ใช้เกณฑ์ค่าน้ำหนักที่ประกาศล่วงหน้า 3 ปี
    • เริ่มเปิดรับสมัคร : เดือนมิถุนายน 2561
    • ยื่นสมัครผ่าน : ทปอ. (ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย)
  • รอบที่ 5 : การรับตรงแบบอิสร
    • สำหรับ : น้องๆ นักเรียนทั่วไป
    • การเลือกสอบ : สามารถสมัครสอบได้ตามความต้องการ โดยที่แต่ละมหาวิทยาลัยจะรับตรงด้วยวิธีการของมหาวิทยาลัยเอง
    • เริ่มเปิดรับสมัคร : เดือนกรกฎาคม 2561
    • ยื่นสมัครและคัดเลือกโดย : มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง

 

 

แล้วเด็กซิ่วล่ะ ?

* เด็กซิ่ว หมายถึง น้องๆ ที่ลาออกจากการเป็นนิสิตนักศึกษาแล้วกลับมาเข้าระบบเพื่อแอดมิชชั่นใหม่ 

ถือเป็นคำถามของเด็กซิ่วหลายคนว่า.. “แล้วเราล่ะ จะสมัครรอบไหนได้บ้าง”

น้องๆ เด็กซิ่วสามารถสมัครได้ทุกรอบที่มีการเปิดรับสมัคร โดยที่รอบที่ 1, 2, 3 และ 5 จะต้องเป็นไปตามคุณสมบัติและระเบียบการที่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งระบุไว้ (หรือแบบเข้าใจง่ายๆ คือ อาจมีบางสาขาที่ไม่เปิดรับนั่นเอง)

 

ทุกรอบมี “เคลียริ่งเฮาส์” (Clearing House)

เนื่องจากปัญหาในหลายๆ ปีที่ผ่านมาที่มีปัญหาวิ่งสอบ แล้วกั๊กที่นั่งเรียนทำให้คนอื่นเสียสิทธิ์ไป ในระบบการคัดเลือกใหม่

ดังนั้นในระบบการคัดเลือกใหม่ ทาง ทปอ. จึงขอความร่วมมือให้ทุกมหาวิทยาลัยต้องเข้าร่วมเคลียริ่งเฮาส์ในทุกรอบ เพื่อให้น้องๆ กดยืนยันสิทธิ์การศึกษาในมหาวิทยาลัยนั้นๆ หลังสอบรอบนั้นๆ เสร็จ และเมื่อกดยืนยันในรอบนั้นๆ แล้วจะไม่สามารถสมัครสอบใหม่ในรอบอื่นๆ ได้อีกนั่นเอง

 

แล้วถ้าจะเข้ามหาวิทยาลัยราชภัฎ หรือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล่ะ ?

สำหรับน้องๆ ที่ต้องการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฎ หรือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จะเข้าร่วมการคัดเลือกในการสมัครรอบที่ 1-3 และรอบที่ 5 แต่จะไม่มีกาสอบรอบแอดมิชชั่น เพราะมหาวิทยาลัยทั้ง 2 กลุ่มนั้นเปิดภาคเรียนแล้วนั่นเอง!

 

ถ้าจบจากต่างประเทศ ?

สำหรับน้องๆ ที่จบหลักสูตรจากโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย หรือ จบการศึกษาจากต่างประเทศ ทางกระทรวงศึกษาธิการประกาศแล้วว่าไม่ต้องเทียบวุฒิการศึกษา สามารถสมัครเรียนต่อตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดได้

สำหรับน้องๆ หลักสูตรนานาชาติหรือจบจากต่างประเทศ สามารถสมัครสอบเข้าได้ 3 รูปแบบ คือ

  • ในรอบที่ 1  แบบที่ไม่มีการสอบเพิ่มเติม : อาจเป็นการยื่นคะแนนทางวิชาการ IELTS, TOEFL, SAT เป็นต้น และมีมีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  • หรือ สามารถสมัครในรอบที่ 3 หรือรอบที่ 5 ได้ โดยต้องมีการสอบเพิ่มเติม หรือมีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  • หรือ สามารถสมัครในรอบที่ 4 ได้ แต่ต้องมีคะแนนและใช้องค์ประกอบคะแนนตามที่กำหนด

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก :  https://seniorswu.in.th/2017/new-admission-61/

©2005-2011 www.kru-somsri.ac.th All rights reserved